กรมปศุสัตว์ ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยเห็น เอกสารพบอหิวาต์แอฟริกา ที่ถูกส่งโดยสถาบันการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ ว่าพบเชื้อดังกล่าวตั้งแต่ปี 64 จากกรณีก่อนหน้านี้ที่มีรายงานเอกสาร ที่ออกโดย ภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ลงวันที่วันที่ 7 ธ.ค. 64 เรื่องข้อห่วงใยต่อสถานการณ์โรคระบาดและการควบคุมโรคในสุกร โดยหน่วยงานของสถาบันการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย พบเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Afican Swine Fever: ASF) ในซากสุกรที่ส่งชันสูตรโรค และได้รายงานการตรวจมาให้กรมปศุสัตว์รับทราบไปแล้ว
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์
ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นเอกสารฉบับดังกล่าว แต่ได้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอน ตามหลักวิชาการและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง เร่งสั่งการให้ทุกจังหวัดตรวจสอบลงพื้นที่ พร้อมประเมินความเสี่ยง และขอความร่วมมือเกษตรกรในการสังเกตและเฝ้าระวังโรค
โดยสามารถรายงานหรือขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอในทุกพื้นที่ หรือที่ Application: DLD 4.0 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ได้สั่งการด่วนจัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น โดยในวันที่ 8 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
โดยการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 6 ฟาร์ม รวม 196 ตัวอย่าง และวันที่ 9 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ฟาร์ม 2 โรงฆ่ารวม 114 ตัวอย่าง เพื่อเข้าไปสำรวจโรคและเก็บตัวอย่างจากเลือดสุกร นำไปตรวจหาโรคโดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งเมื่อทราบผลการวิเคราะห์จะรายงานผลและเร่งดำเนินการต่อไปโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายให้เกิดน้อยที่สุด
เด็กป่วย ไม่สามารถแยกตัวเองออกไปได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ติดโรค ผมมีคนไข้เด็กที่ติดจากสถานเลี้ยงเด็ก เมื่อตรวจพบ แม่ยอมติดเชื้อด้วย เพราะต้องดูแลรักษาลูก รวมทั้งบุคคลในบ้าน เมื่อเด็กคนหนึ่งเป็น พี่น้องที่วิ่งเล่นด้วยกัน ก็จะติดกันอย่างแน่นอน ในอดีตที่ผ่านมา เชื้อส่วนใหญ่อยู่ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สามารถแยกตัวออกมาได้ ป้องกันไม่ให้ติดเด็ก แต่เมื่อมีการระบาดอย่างมากโดยเฉพาะ โอมิครอน การติดเชื้อจะลงมาสู่เด็กอย่างแน่นอน
เด็ก ภาระความรุนแรงโรคน้อยมาก แต่จะเป็นผู้กระจายโรค ไปสู่คนในบ้าน
เด็กเล็กจะกระจายไปสู่ผู้ดูแล ด้วยการสัมผัสใกล้ชิด กอดจูบ เล่นด้วยกันระหว่างเด็ก
เด็กจำเป็นต้องไปโรงเรียน ในอนาคตเราคงหนีไม่พ้น การติดในโรงเรียน ที่เหมือนแบบโรคหวัดทั่วไปโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เด็กโตหรือวัยรุ่น จะมีสภาพสังคม และการเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้มากกว่าเด็กเล็ก
ถึงแม้ว่าความรุนแรงของโรคในเด็กจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ความสำคัญในการแพร่กระจายโรคมีมากกว่า วัคซีนที่ใช้ในเด็ก ที่ต้องการจะต้องมีความปลอดภัย ต้องมาก่อน และจะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อมากกว่า ลดความรุนแรงของโรค เพราะถ้าให้วัคซีนแล้วเด็กยังสามารถติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ จะไม่เกิดประโยชน์ในการลดการแพร่กระจายโรคได้
ช่วงเวลาที่ผ่านมา เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน ที่ต้องเรียนทางไกล ทำให้ประสิทธิภาพการศึกษาของเด็กลดลงอย่างมาก ผ่านมา 2 ปีแล้ว ในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียนอย่างแน่นอน โรคโควิด 19 โอมิครอน มีแนวโน้มความรุนแรงโรคลดลง ก็น่าจะเป็น coronavirus อีกตัวหนึ่งจากที่เคยมีอยู่แล้ว 4 ตัว ที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ผู้ใหญ่ทุกคนจะต้องมีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับวัคซีนหรือการติดเชื้อ และ ชีวิตของเด็ก ก็จะต้องกลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเฉพาะชีวิตในโรงเรียน”
โฆษก รบ. ประกาศ เปิดบริการ ตรวจโควิด ATK ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 11-21 ม.ค.
โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ห่วงใยการแพร่ระบาด “โอมิครอน” สั่งการตรวจเชื้อเชิงรุก สปสช. จับมือ ม.มหิดล ธพส. เปิดบริการ ตรวจโควิด ATK ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ วันที่ 11-21 ม.ค.นี้
ตรวจโควิด ATK ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ – วันนี้ (10 ม.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิด กำชับทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะด้านสาธารณสุขรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก “โอมิครอน” ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ได้สั่งการให้มีการตรวจเชื้อแบบเชิงรุก เพื่อเร่งแยกผู้ป่วยออกจากประชากรทั่วไปให้ได้มากที่สุด
โดยล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) จัดตรวจโควิด-19 เชิงรุกที่ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. (บริเวณลานจอดรถชั้น 1 อาคารบี) เพื่อสนับสนุนกรุงเทพมหานครและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ใช้ชุดตรวจ ATK รู้ผลใน 30 นาที โดยหากปรากฏว่าผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) หรือในระบบชุมชน (Community Isolation) หากอาการแย่ลงก็จะส่งเข้ารักษาในโรงพยาบาลทันที
ซึ่งตั้งเป้าตรวจวันละ 1,000 ราย เริ่มตั้งแต่วันที่ 11-21 มกราคม 2565 นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ให้ติดตามควบคุมราคาการจำหน่าย ATK อย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีการฉวยโอกาสขึ้นราคาก็ให้ดำเนินการตามกฎหมาย พร้อมกับวางแนวทางป้องกันไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชนที่อยู่ในช่วงยากลำบาก